วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558



ใครทำให้ท่านนบีร้องไห้ ?
.
.
.

ทำไมต้องร้องไห้ ? ร้องไห้แล้วได้อะไร ? 

อัลลอฮทรงสั่งใช้ให้ผู้ศรัธทาร้องไห้ โดยอัลลอฮทรงสั่งว่า
พวกเจ้ายังคงแปลกใจต่อคำกล่าวนี้อีกหรือ? และพวกเจ้ายังคงหัวเราะ และยังไม่ร้องไห้ 
อัน-นัจมฺ อายะฮที่ 58-60
ท่านอะนัส รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวเทศนาธรรมที่ฉันไม่เคยได้ยินเช่นนี้มาก่อน ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “แม้นว่าพวกท่านทราบถึงสิ่งที่ฉันรู้ แน่อนพวกท่านต้องหัวเราะห์น้อยลง และร้องไห้มากขึ้น” และบรรดาสาวกของท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ต่างพากันปิดหน้าและส่งเสียงร้องไห้กันระงม บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม

ผู้ที่ร้องไห้ด้วยความยำเกรงต่ออัลลอฮ จะไม่โดนไฟนรก มีรายงานจากท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ว่า
ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งที่ร้องไห้เนื่องจากความยำเกรงต่ออัลลอฮ เขาจะไม่ต้องเข้าไฟนรก จนกว่าว่าน้ำนมจะไหลกลับเข้าเต้านมได้ และคราบฝุ่นในหนทางของอัลลอฮ ก็จะไม่มีวันอยู่ร่วมกับควันของนรกญะฮันนัมเป็นอันขาด” บันทึกโดยอัดติรมีซีย์ 
และยังมีรายงานอีกว่า ท่านอับดุลลอฮอิบนุอับบาส กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “สองดวงตานี้จะไม่สัมผัส 1.ดวงตาที่ร้องไห้เนื่องด้วยยำเกรงต่ออัลลอฮ และ 2.ดวงตาที่อดหลับอดนอนเฝ้าระวังในหนทางของอัลลอฮ” บันทึกโดยอัดติรมีซีย์

ผู้กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ แล้วร้องไห้ เขาจะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของพระองค์ในวันกิยามะฮ
ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “เจ็ดอภิสิทธิชนที่อัลลอฮจะทรงให้พวกเขาได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮ วันที่ไม่มีร่มเงาใดๆนอกจากร่มเงาของพระองค์เท่านั้น คือ ผู้นำที่เที่ยงธรรม........และชายคนหนึ่งที่เขากล่าวรำลึกถึงอัลลอฮเพียงลำพัง แล้วดวงตาทั้งสองของเขาก็มีน้ำตาเอ่อล้น.........หะดีษ” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม

ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ท่านนบีร้องไห้
.
.
.
อ่านสิ...นบีอยากฟัง
ท่านอับดุลลอฮอิบนุมัสอู้ด รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “จงอ่านกุรอานให้ฉันฟังหน่อยสิ” อิบนุมัสอู้ด ถามว่า “จะให้ฉันอ่านให้ท่านฟังทั้งๆที่อัลกุรอานนั้นถูกประทานให้แก่ท้านกระนั้นหรือ?” ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ตอบว่า “ใช่แล้ว” ฉันจึงอ่านซูเราะห์อันนิซาอฺ จนถึงอายะฮที่ว่า (แล้วจะเป็นอย่างไรเล่า เมื่อเราได้นำพยานมาหนึ่งคนจากแต่ละประชาชาติ และเราได้นำท่านมาเป็นพยานต่อพวกเขาอีกที....) ทันใดนั้นท่านร่อซูลฯก็กล่าวว่า “ท่านจงหยุดอ่านเดี๋ยวนี้” อิบนุมัสอู้ดเล่าต่อไปว่า “แล้วฉันก็หันไปเห็นดวงตาทั้งสองของท่านร่อซูลฯเอ่อล้นไปด้วยน้ำตา” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม

จบกัน...เมื่อวันเยี่ยมแม่
ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ไปเยือนหลุมศพมารดาของท่าน แล้วท่านก็ร้องไห้สะอึกสะอึ้น และยังทำให้ผู้ที่อยู่รอบๆตัวท่านร้องไห้ตามไปด้วย แล้วท่านก็กล่าวกับทุกคนว่า “ฉันได้ขออนุญาตจากพระเจ้าของฉันที่จะวิงวอนขออภัยโทษให้แก่มรรดาของฉัน แต่พระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้นฉันจึงขออนุญาตจากพระองค์อีก ให้ฉันได้มาเยี่ยมเยือนหลุมศพมารดาของฉัน และพระองค์ก็อนุญาตให้แก่ฉัน ดังนั้นพวกท่านจงเยี่ยมเยือนหลุมฝังศพเถิด เพราะมันจะช่วยเตือนใจให้พวกท่านได้ระลึกและสังวรถึงความตายได้” บันทึกโดยมุสลิม

ลุงใครๆก็รัก
ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ รฎ. กล่าวว่า ในวันสมรภูมิอุหุด ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. มองดูศพของฮัมซะฮบินอับดิลมุฏฏอลิบ(ลุง) ที่ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพดี ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ไม่เคยเห็นภาพใดที่ทำให้เจ็บใจและเสียใจมากเท่านี้มาก่อน ท่านจึงพูดว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮ ฉันจะต้องทำเยี่ยงนี้กับพวกมันสัก 70 คน เพื่อชดเชย-ชำระแค้น-ให้กับท่าน” อัลลอฮ จึงมีรับสั่งมาทันทีว่า (และหากพวกเจ้าจะลงโทษ ก็จงลงโทษเยี่ยงเดียวกับที่พวกเจ้าถูกลงโทษ และหากพวกเจ้าอดทน แน่นอนมันย่อมเป็นการดีสำหรับบรรดาผู้อดทน) ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. จึงไถ่โทษและยุติสิ่งที่ท่านตั้งใจจะทำ บันทึกโดยอัดฏ็อบรอนีย์
ท่านอับดุลลอฮอิบนุมัสอู้ด รฎ. กล่าวว่า “พวกเราไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ร้องห่มร้องไห้ครั้งใดเลย ที่จะมากมายกว่าที่ท่านร้องไห้ เนื่องจากการเสียชีวิตของฮัมซะฮฺบินอับดิลมุฏฏอลิบ”

นานแค่ไหนแล้ว...ที่พี่น้องไม่ได้ร้องไห้กับความยำเกรงต่ออัลลอฮ กับคำพูดของอัลลอฮ (อัลกุรอาน) หรือเพียงแค่อ่านแต่ไม่ได้ใคร่ควรต่อความหมายที่อัลลอฮได้บอกไว้ หรือได้แต่เสียน้ำตาให้กับเรื่องไร้สาระในดุลยาซึ่งไม่มีค่าในสายตาของอัลลอฮเลย......

ส่วนหนึ่งจากเอกสารประกอบการบรรยายประจำเดือน แสงธรรมแห่งถ่ำหิรออฺ เรื่อง ใครทำให้นบีร้องไห้ โดย อ.อับดุลลอฮ์ สุไลหมัด และ อ.รอมฏอน คล้ายเจริญ  จัดการบรรยายโดย มูลนิธิศรัทธาชนเพื่อการศึกษาและเด็กกำพร้า ร่วมกับ ภัตตาคารอาหารสินธร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

อัลกุอานแปลไทย.PDF



อัลกุอานแปลไทย.PDF
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเหนือมุสลิมทุกคน จำเป็นต้องใคร่ครวญอัลกุอาน เพราะนี้คือทางนำที่แท้จริงในชีวิตของเรา

เห็นแล้วอย่าเก็บไว้คนเดียว แชร์กันต่อ 
ขออัลลอฮทรงให้ทางนำที่แท้จริงแก่พี่น้องทุกๆคนด้วยคัมภีร์เล่มนี้ ด้วยนะคับ อิลชาอัลลอฮ

ไฟล์ http://www.mediafire.com/?stf74ysm426bq91

การถือศีลอดเดือนชะอฺบาน



การถือศีลอดเดือนชะอฺบาน
______________________________________

ท่านอุซามะฮ์ บิน เซด กล่าวว่า "ฉันได้กล่าวว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ฉันไม่เคยเห็นท่านทำการถือศีลอดในเดือนหนึ่งจากบรรดาเดือนทั้งหลายเหมือนกับการถือศีลอดในเดือนชะอฺบานเลย ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ดังกล่าวเป็นเดือนที่ผู้คนทั้งหลายลืม ซึ่งมันอยู่ระหว่างเดือนร่อญับและเดือนร่อมะฏอน และ(เดือนชะอฺบานนั้น)มันเป็นเดือนที่บรรดาอะมัลทั้งหลายถูกรายงานสู่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ดังนั้นท่านจึงชอบที่จะให้อะมัลของฉันถูกรายงานในสภาพที่ฉันถือศีลอด" รายงานโดยอันนะซาอี (2317)

ท่านหญิงอาอิชะฮ์ มารดาแห่งศรัทธาชน กล่าวว่า "ฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถือศีลอดสมบูรณ์ในเดือนหนึ่งนอกจากเดือนร่อมะฏอน และฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลเลาะฮ์จะทำการถือศีลอดจากเดือนหนึ่งมากไปกว่าเดือนชะอฺบาน" รายงานโดยบุคอรีย์(1833)

อีกรายงานหนึ่งระบุว่า ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า "ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยถือศีลอดในเดือนหนึ่งมากไปกว่าเดือนชะอฺบาน เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยทำการถือศีลอดเดือนชะอฺบาน(เกือบ)ทั้งเดือน" รายงานโดยบุคอรีย์(1834)

สายรายงานหนึ่งระบุว่า ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทำการถือศีลอดเดือนชะอฺบาน นอกจากเพียงเล็กน้อย(จากเดือนชะอฺบานเท่านั้นที่ท่านไม่ได้ถือศีลอด)" รายงานโดยมุสลิม(1156)

ท่านอัตติรมีซีย์ ได้รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "เมื่อเข้าสู่ครึ่งที่สองของเดือนชะอฺบาน ท่านทั้งหลายอย่าถือศีลอด" ดู หะดิษที่ 738 ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า หะดิษนี้ซอฮิห์

ท่านอิบนุมาญะฮ์ รายงานว่า "เมื่อถึงครึ่งหนึ่งของเดือนชะอฺบานแล้ว จะไม่มีการถือศีลอด จนกว่าจะเข้าสู่รอมะฏอน" ดู หะดิษที่ 1651

แต่จะไม่ห้ามการถือศีลอดในวันที่สงสัย(ว่าเข้าเดือนรอมะฏอนแล้วหรือยัง) และไม่ห้ามการถือศีลอดในครึ่งที่สองของเดือนชะอฺบาน เมื่อมันไปตรงกับวันที่ผู้ถือศีลอดได้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ หรือเขาได้ถือศีลอดต่อเนื่องกันมาจนเข้าสู่ครึ่งที่สองของเดือนชะอฺบาน

ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ รายงานจากท่าน ร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมความว่า "ท่านทั้งหลายอย่าถือศีลอดก่อนเข้าสู่รอมะฏอนหนึ่งวันหรือสองวัน นอกจากผู้ที่ได้ถือศีลอดเป็นประจำ ก็ให้เขาถือศีลอดเถิด" รายงานโดย บุคอรีและมุสลิม

สรุป : คือ การถือศีลอดเดือนชะอฺบานนั้นถือว่าเป็นสุนัตเพราะท่านนบี ถือศีลอดเดือนชะอฺบานเป็นประจำ แต่หากตั้งใจจะถือศีลอดเพียงแค่ครึ่งหลังของเดือนชะอฺบานโดยไม่มีสาเหตุใด ๆ เช่น กอฏอชดใช้ศีลอด ถือศีลอดจันทร์และพฤหัสบี เป็นต้น ก็ถือว่าฮะรอมนะครับ ( ดู หนังสือมุฆนีอัลมั๊วะห์ตาจญ์ 2/177)
________________________________________

โดย al-azhary


เรื่องฝันๆตามแบบอย่างนบี




แค่ฝันไป...
ว่าด้วยเรื่อง ฝันๆ ตามแบบอย่างนบี

คำที่ควรกล่าวและสิ่งที่ควรทำเมื่อฝันดีหรือฝันร้าย
1. จากอบู เกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
«الرُّؤْيَا الْحَسَنَةُ مِنَ اللَّهِ ، فَإِذَا رَأَى أَحَدُكُمْ مَا يُحِبُّ فَلاَ يُحَدِّثْ بِهِ إِلاَّ مَنْ يُحِبُّ ، وَإِذَا رَأَى مَا يَكْرَهُ فَلْيَتَعَوَّذْ بِاللَّهِ مِنْ شَرِّهَا ، وَمِنْ شَرِّ الشَّيْطَانِ وَلْيَتْفِلْ ثَلاَثًا وَلاَ يُحَدِّثْ بِهَا أَحَدًا فَإِنَّهَا لَنْ تَضُرَّهُ»
ความว่า : “การฝันดีนั้นมาจากอัลลอฮฺ ดังนั้น เมื่อพวกท่านคนใดฝันเห็นสิ่งที่เขาชอบก็จงอย่านำไปเล่านอกจากแก่ผู้ที่เขารัก และเมื่อเขาฝันร้ายก็จงขอหลีกเลี่ยงด้วยอัลลอฮฺจากความชั่วของมันและความชั่วของชัยฏอน และจงถ่มน้ำลายสามครั้งและอย่านำไปเล่าให้ผู้ใดฟัง เพราะมันไม่มีทางจะทำอันตรายต่อเขาได้” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 7044 และมุสลิม หมายเลข 2261)

2. มีรายงานจากอบู สะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าเขาได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
« إِذَا رَأَى أَحَدُكُمُ الرُّؤْيَا يُحِبُّهَا ، فَإِنَّهَا مِنَ اللَّهِ ، فَلْيَحْمَدِ اللَّهَ عَلَيْهَا ، وَلْيُحَدِّثْ بِهَا»
ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดฝันเห็นสิ่งที่เขาชอบซึ่งมันมาจากอัลลอฮฺก็จงกล่าวว่าขอบคุณต่ออัลลอฮฺในสิ่งนั้นและจงเล่ามันให้คนอื่นฟัง” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 7045)

3. มีรายงานจากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« إِذَا رَأَى أَحَدُكُمُ الرُّؤْيَا يَكْرَهُهَا فَلْيَبْصُقْ عَنْ يَسَارِهِ ثَلاَثًا وَلْيَسْتَعِذْ بِاللَّهِ مِنَ الشَّيْطَانِ ثَلاَثًا وَلْيَتَحَوَّلْ عَنْ جَنْبِهِ الَّذِى كَانَ عَلَيْهِ ». وفي لفظ : «فَإِنْ رَأَى أَحَدُكُمْ مَا يَكْرَهُ فَلْيَقُمْ فَلْيُصَلِّ»
ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดฝันเห็นสิ่งไม่ดีก็จงถ่มน้ำลายทางด้านซ้ายสามครั้ง และจงขอหลีกเลี่ยงต่ออัลลอฮฺจากชัยฏอนสามครั้ง และจงสลับซีกลำตัวที่นอนจากซีกเดิม" และในสำนวนอื่น “ดังนั้น เมื่อพวกท่านคนใดฝันเห็นสิ่งไม่ดีก็จงลุกขึ้นแล้วละหมาด” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2262 และ หมายเลข 2263 ตามลำดับ)

การชื่นชมกับการฝันดี
1. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :
« لَمْ يَبْقَ مِنَ النُّبُوَّةِ إِلاَّ الْمُبَشِّرَاتُ » . قَالُوا وَمَا الْمُبَشِّرَاتُ قَالَ « الرُّؤْيَا الصَّالِحَةُ »
ความว่า : “ไม่มีการเป็นนบีหลงเหลืออีกแล้วนอกจากมีเพียงผู้แจ้งข่าวดี” พวกเขาถามว่า “แล้วผู้แจ้งข่าวดีนั้นคืออะไร ? “ ท่านตอบว่า “คือการฝันดีอย่างไรล่ะ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 6990)

2. มีรายงานจากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« الرُّؤْيَا الْحَسَنَةُ مِنَ الرَّجُلِ الصَّالِحِ جُزْءٌ مِنْ سِتَّةٍ وَأَرْبَعِينَ جُزْءًا مِنَ النُّبُوَّةِ »
ความว่า : “การฝันดีโดยชายที่ดีนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากสี่สิบหกส่วนของการเป็นนบี” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6983 และมุสลิม หมายเลข 2263)

การฝันเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม
มีรายงานจากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
« تَسَمَّوْا بِاسْمِى وَلاَ تَكْتَنُوا بِكُنْيَتِى ، وَمَنْ رَآنِى فِى الْمَنَامِ فَقَدْ رَآنِى ، فَإِنَّ الشَّيْطَانَ لاَ يَتَمَثَّلُ فِى صُورَتِى ، وَمَنْ كَذَبَ عَلَيَّ مُتَعَمِّدًا فَلْيَتَبَوَّأْ مَقْعَدَهُ مِنَ النَّارِ » .
ความว่า : “พวกท่านจงตั้งชื่อด้วยชื่อของฉันแต่อย่าตั้งกุนยะฮฺ (กุนยะฮฺ หมายถึง นามแฝงผู้ชายที่นำหน้าด้วยคำว่า อบู (แปลว่า พ่อ) หรือ นามแฝงผู้หญิงที่นำหน้าด้วยคำว่า อุมมุ(แปลว่า แม่) เช่น อบูสะอีด อบูฮุร็อยเราะฮฺ อุมมุสะละมะฮฺ หรือ อุมมุอัยมัน เป็นต้น ซึ่ง
กุนยะฮฺของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นคือ อบู อัลกอสิม – ผู้แปล) ด้วย
กุนยะฮฺของฉัน และผู้ใดที่ฝันเห็นฉัน ผู้นั้นก็เห็นฉันจริงๆ เพราะชัยฏอนนั้นไม่สามารถจะแปลงกายเป็นฉันได้ และผู้ใดที่กุเรื่องเท็จแอบอ้างใส่ฉันโดยเจตนาเขาก็จงเตรียมที่นั่งของเขาไว้ในนรก” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 110 และมุสลิม หมายเลข 2134 และ 2266)

ไม่เล่าฝันร้ายให้คนอื่นฟัง
จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :
جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ : يَا رَسُولَ اللَّهِ رَأَيْتُ فِى الْمَنَامِ كَأَنَّ رَأْسِى قُطِعَ. قَالَ فَضَحِكَ النَّبِىُّ صلى الله عليه وسلم وَقَالَ : «إِذَا لَعِبَ الشَّيْطَانُ بِأَحَدِكُمْ فِى مَنَامِهِ فَلاَ يُحَدِّثْ بِهِ النَّاسَ ».
ความว่า : มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม และกล่าวว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันฝันว่าศรีษะของฉันได้ถูกตัด” เขาเล่าต่อว่า แล้วท่านนบีก็หัวเราะและกล่าวว่า “เมื่อชัยฏอนหลอกหลอกผู้ใดในเวลานอนก็จงอย่าเล่ามันในคนอื่นฟัง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2268)

ขอต่ออัลลอฮ




ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อมีสิ่งใดมาสร้างอุปสรรคแก่ท่าน ท่านจะกล่าวดุอาอ์

«يَا حَىُّ يَا قَيُّومُ بِرَحْمَتِكَ أَسْتَغِيثُ»

ความว่า : โอ้ผู้ทรงชีพ โอ้ผู้ทรงดูแลปกครอง ด้วยความปรานีของพระองค์เท่านั้นที่ข้าขอความช่วยเหลือ (หะดีษ หะสัน บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ : 3524 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 2796)

นอบน้อมต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ



ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือสำหรับบรรดาผู้ศรัทธาที่หัวใจของพวกเขาจะนอบน้อมต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และสิ่งซึ่งได้มีลงมาคือความจริง และพวกเขาอย่าได้เป็นเช่นบรรดาผู้ได้รับคัมภีร์มาแต่ก่อนนี้ แล้วช่วงเวลาได้เนิ่นนานเกินไปแก่พวกเขา ดังนั้นจิตใจของพวกเขาจึงแข็งกระด้าง และส่วนมากของพวกเขาจึงเป็นผู้ฝ่าฝืน ซูเราะฮฺอัล-ฮาดีด อายะฮฺที่ 16

ภาพ พี่น้องผู้พิการทางร่างกาย แต่จิตใจอยู่กับการอ่านคำพูดของอัลลอฮ และเราล่ะพี่น้อง ได้จับอัลกุรอานมาอ่านกันบ้างไหม

จงอดทนกับบททดสอบของอัลลอฮ




หากว่าเราลำบากแล้ว ลองมองดูพี่น้องที่ลำบากยิ่งกว่าเราสิ
จงอดทนกับบททดสอบของอัลลอฮเพราะอัลลอฮทรงอยู่กับผู้ที่อดทนทั้งหลาย

แท้จริงอัลลออ์นั้นทรงอยู่ร่วมกับผู้อดทนทั้งหลาย อัล-บะเกาะเราะฮ 153 

และแน่นอน เราจะทดลองพวกเจ้าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความหิวและด้วยความสูญเสีย(อย่างใดอย่างหนึ่ง)จากทรัพย์สมบัติ ชีวิต และพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด อัล-บะเกาะเราะ 155

ความเมตตา



จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า 
«مَنْ لا يَرْحَـمْ لا يُرْحَـمْ»
ความว่า“บุคคลใดที่ไม่มีความเมตตา เขาผู้นั้นก็จะไม่ได้รับความเมตตาเช่นกัน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5597 , มุสลิม : 2318 )

และท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอีกว่า 
«عُذِّبَتْ امْرَأَةٌ فِي هِرَّةٍ، حَبَسَتْهَا حَتَّى مَاتَتْ فَدَخَلَتْ فِيهَا النَّارَ، لَا هِيَ أَطْعَمَتْهَا وَلَا سَقَتْهَا إِذْ حَبَسَتْهَا، وَلَا هِيَ تَرَكَتْهَا تَأْكُلُ مِنْ خَشَاشِ الْأَرْضِ» (صحيح البخاري ج3 ص1284 رقم الحديث 3295)
“ผู้หญิงคนหนึ่งได้ถูกลงโทษเพราะเเมวที่เขาขังไว้จนตาย แล้วเข้านรก เธอไม่ได้ให้อาหารมัน ไม่ให้น้ำมันตลอดเวลาที่กักขังมัน และไม่ปล่อยมันเพื่อมันจะได้หาอาหารกินเอง” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ 3/1284, เลขที่ 3295)

ฉะนั้นหากเราไม่ใยดีหรือไม่มีความเมตตากับพี่น้องหรือสรรพสัตว์ หรือสิ่งที่อยู่บนดุลยานี้แล้ว อัลลอฮก็จะไม่มีเมตตากับเราเช่นเดียวกัน แถมด้วยการขาดทุนที่ใหญ่หลวงนักนั่นคือการได้รับนรกตอบแทน

แต่ทว่าหากเรากล่าวในความเมตตาที่อัลลอฮได้ให้กับบ่าวที่มีความเมตตานั้น มันชั่งคุ้มค่ายิ่งนักกับผลบุญที่จะได้รับ

ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«بَيْنَا رَجُلٌ بِطَرِيقٍ اشْتَدَّ عَلَيْهِ الْعَطَشُ، فَوَجَدَ بِئْرًا فَنَزَلَ فِيهَا فَشَرِبَ، ثُمَّ خَرَجَ فَإِذَا كَلْبٌ يَلْهَثُ يَأْكُلُ الثَّرَى مِنْ الْعَطَشِ، فَقَالَ الرَّجُلُ لَقَدْ بَلَغَ هَذَا الْكَلْبَ مِنْ الْعَطَشِ مِثْلُ الَّذِي كَانَ بَلَغَ مِنِّي، فَنَزَلَ الْبِئْرَ فَمَلَا خُفَّهُ مَاءً فَسَقَى الْكَلْبَ، فَشَكَرَ اللَّهُ لَهُ، فَغَفَرَ لَهُ، قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّه وَإِنَّ لَنَا فِي الْبَهَائِمِ لَأَجْرًا؟ فَقَالَ فِي كُلِّ ذَاتِ كَبِدٍ رَطْبَةٍ أَجْرٌ» (صحيح البخاري ج 2 ص870 رقم الحديث 2334)
ความว่า : ในขณะที่ชายหนุ่มคนหนึ่งได้เดินบนท้องถนนเขารู้สึกกระหายอย่างแรง แล้วไปเจอบ่อน้ำแห่งหนึ่ง เขาจึงลงไปในบ่อแล้วดื่มน้ำ หลังจากที่เขาปีนขึ้นมาเขาเจอสุนัขตัวหนึ่งแลบลิ้นด้วยความกระหายและเลียดินเปียก เขากล่าวในใจว่า แน่นอนหมาตัวนี้กระหายน้ำเหมือนที่ฉันเคยกระหายน้ำ เขารีบลงไปในบ่อทันทีและเอารองเท้าใส่น้ำแล้วให้สุนัขกิน อัลลอฮฺชมเชยการกระทำของเขาเลยพระองค์ปลดบาปเขา บรรดาเหล่าสาวกที่ฟังอยู่ถามท่านว่า เราจะได้ผลบุญจากการกระทำดีของเราต่อสัตว์ด้วยหรือ? ท่านตอบว่า ใช่ การทำดีต่อสัตว์มีชีวิตทุกชนิดได้ผลบุญ” (อัล-บุคอรีย์ 2/870 เลขที่ 2334)

และในความเมตตาที่อัลลอฮได้ให้กับเรานั้น เป็นเพียงแค่ 1% จากความเมตตาของอัลลอฮที่ได้ให้กับเรา

และจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّ لِلَّهِ مِائَةَ رَحْـمَةٍ، أَنْزَلَ مِنْـهَا رَحْـمَةً وَاحِدَةً بَيْنَ الجِنِّ وَالإنْسِ وَالبَـهَائِمِ وَالهَوَامِّ، فَبِـهَا يَتَعَاطَفُونَ، وَبِـهَا يَتَرَاحَـمُونَ، وَبِـهَا تَعْطِفُ الوَحْشُ عَلَى وَلَدِهَا، وَأَخَّرَ الله تِسْعاً وَتِسْعِينَ رَحْـمَةً يَرْحَـمُ بِـهَا عِبَادَهُ يَوْمَ القِيَامَةِ»
ความว่า “สำหรับอัลลอฮฺแล้วมีถึงหนึ่งร้อยความเมตตา พระองค์ได้ประทานความเมตตาเพียงส่วนเดียวลงมาแก่ญิน มนุษย์ และสรรพสัตว์ ด้วยความเมตตาส่วนนั้นพวกเขาเอื้ออาทรต่อกัน ด้วยส่วนนั้นพวกเขาต่างมีเมตตาต่อกัน ด้วยความเมตตาส่วนนั้นจะพบว่าสัตว์ที่ดุร้ายมีความเมตตาต่อลูกของเขา และอัลลอฮฺได้เก็บความเมตตาอีกเก้าสิบเก้า ณ พระองค์ เพื่อแสดงออกต่อปวงบ่าวของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6000 , มุสลิม : 2752 )

มาชาอัลลอฮ อัลฮัมดุลิ้ลละห์ที่เราได้เกิดมาอยู่ในศาสนาของพระองค์ และอัลลอฮก็ทรงเมตตาเรายิ่งนักกับการอยู่ในโลกดุลยาที่มีหลักการอิสลามไว้ยึดและปฏิบัติตาม

อัลฮัมดุลิ้ลละห์ 

คำกล่าวก่อนสิ้นใจท่านมุอ๊าซ อิบนิ ญะบัล


คนจนตามอิสลาม




ลักษณะของคนจนที่แท้จริง
____________________

รายงานจาก อะบีฮุรอยเราะห์ (ร.ฏ.) กล่าวว่า ท่านรอซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า :

คนมิสกีน (คนจนที่มีเกียรติ และควรจะได้รับความช่วยเหลือ) นั้น ไม่ใช่ผู้ที่วนเวียนขอจากผู้คน แล้วเขาก็ได้อินทผาลัม หนึ่งเม็ดหรือสองเม็ด และไม่ใช่ผู้ที่วนเวียนขอจากผู้คน แล้วเขาก็ได้รับอาหารหนึ่งคำหรือสองคำ แต่คนจนนั้นคือคนที่ไม่ขอใครๆทั้งๆที่ยากจน บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม
(ดูในบุคอรีย์ เล่ม 8 หน้า 152 และดูในมุสลิม หะดีษเลขที่ 1039)

และอีกสำนวนหนึ่งมีอยู่ในบุคอรีย์และมุสลิมเช่นกันกล่าวว่า :

คนจนนั้นไม่ใช่ผู้ที่วนเวียนขอจากผู้คน และเขาก็ได้รับอินทผาลัมหนึ่งเม็ดหรือสองเม็ด และไม่ใช่ผู้ที่วนเวียนขอจากผู้คน และเขาก็ได้รับอาหารหนึ่งคำหรือสองคำ แต่คนจนนั้น คือคนที่มีแต่ไม่พอใช้ และไม่มีผู้ใดสังเกตสภาพของเขา แล้วบริจาคให้เขา และเขาก็ไม่ขอใคร

คำอธิบาย
คนจนคือคนที่ขาดปัจจัยต่างๆในการดำเนินชีวิต สังคมจะต้องอุ้มชูพวกเขาไว้ คนจนที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่เป็นผู้ที่แบมือขอผู้อื่น เขาจะต้องทุ่มเทความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้ได้มาซึ่งริสกีที่ฮาลาล เขาจะต้องปกปิดสภาพความยากจนเอาไว้ ไม่ให้ผู้อื่นรู้ ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า :

“(คือให้บริจาคทาน) แก่บรรดาผู้ที่ยากจนที่ถูกจำกัดตัวให้อยู่ในทางของอัลลอฮ์ โดยที่พวกเขาสามารถจะเดินทางไปในดินแดนอื่นๆ ได้(เพื่อประกอบอาชีพ) ผู้ที่ไม่รู้คิดว่าพวกเขาเป็นผู้มั่งมี อันเนื่องจากความสงบเสงี่ยมเจียมตัว โดยที่เจ้าจะรู้จักเขาได้ด้วยเครื่องหมายของพวกเขา พวกเขาจะไม่ขอจากผู้คนในสภาพเซ้าซี้ และสิ่งดีใด ๆ ที่พวกเจ้าบริจาคไปนั้น แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้ดีในสิ่งนั้น” (อัลบะกอเราะห์ : 273)

สิ่งที่ได้รับจากหะดีษนี้
1. ผู้ที่ออกปากขอจากผู้อื่น ขอคนนั้น ขอคนนี้ ขอคนโน้น เขาไม่ใช่คนจนที่แท้จริง แต่เป็นนักขออาชีพ อิสลามไม่สนับสนุนการกระทำของเขา
2. หน้าที่ของคนรวย ต้องช่วยเหลือคนจน หน้าที่ของคนจน ต้องทำมาหากินอย่างสุดความสามารถ
3. การบริจาค “ซะกาต” เป็นการประกันสังคมที่อิสลามบังคับใช้มาแล้ว

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.islammore.com/


ละหมาดญะมาอะฮฺ




ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«صَلَاةُ الرَّجُلِ فِي الْجَمَاعَةِ تُضَعَّفُ عَلَى صَلَاتِهِ فِي بَيْتِهِ وَفِي سُوقِهِ خَمْسًا وَعِشْرِينَ ضِعْفًا، وَذَلِكَ أَنَّهُ إِذَا تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ الْوُضُوءَ ثُمَّ خَرَجَ إِلَى الْمَسْجِدِ لَا يُخْرِجُهُ إِلَّا الصَّلَاةُ، لَمْ يَخْطُ خَطْوَةً إِلَّا رُفِعَتْ لَهُ بِهَا دَرَجَةٌ، وَحُطَّ عَنْهُ بِهَا خَطِيئَةٌ، فَإِذَا صَلَّى لَمْ تَزَلْ الْمَلَائِكَةُ تُصَلِّي عَلَيْهِ مَا دَامَ فِي مُصَلَّاهُ، اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَيْهِ، اللَّهُمَّ ارْحَمْهُ، وَلَا يَزَالُ أَحَدُكُمْ فِي صَلَاةٍ مَا انْتَظَرَ الصَّلَاةَ»
[البخاري برقم 647، ومسلم برقم 649]

ความว่า “ละหมาดของคนๆหนึ่งในรูปแบบญะมาอะฮฺจะได้รับผลตอบแทนต่างจากการละหมาดที่บ้านของเขา หรือในตลาดถึงยี่สิบห้าเท่า คราใดที่เขาอาบน้ำละหมาดอย่างถูกต้องแล้วออกจากบ้านด้วยหัวใจที่ตั้งมั่นเพื่อไปละหมาด อัลลอฮฺจะเทิดทูนเกียรติของเขา และจะลบความผิดของเขาในทุกก้าวย่างที่เขาย่ำไป เมื่อเขาละหมาดมะลาอิกะฮฺจะขอพรให้แก่เขาตราบใดที่เขายังอยู่ในสถานที่ละหมาด (โดยมะลาอิกะฮฺจะกล่าวว่า)โอ้อัลลอฮฺขอได้โปรดให้พรแก่เขาด้วยเถิด และได้โปรดเมตตาเขาด้วยเถิด คนๆ หนึ่งยังคงอยู่ในการละหมาดตราบใดที่เขายังคอยละหมาดในเวลาต่อไป”

( บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์: 647 และมุสลิม : 649 )

สุนนะฮฺในวันอีด



สุนนะฮฺต่างๆ ที่สนับสนุนให้ปฏิบัติในวันอีด
_______________________________

เราขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺ หลังจากที่พระองค์ได้ทำให้เรามีชีวิตถึงเดือนเราะมะฎอน และได้ช่วยเหลือเราให้ปฏิบัติภารกิจ
ศิยาม(ถือศีลอด)และกิยาม(ละหมาดกลางคืน) ขอให้พระองค์ได้ทรงตอบรับการงานต่างๆ เหล่านั้นจากเราด้วย แท้จริงพระองค์นั้นทรงการุณและเอื้อเฟื้อยิ่ง

ในจำนวนประการต่างๆ ที่ควรสะกิดเตือนในช่วงนี้ก็คือบทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับการละหมาดอีด และสุนนะฮฺต่างๆ ที่มุสลิมควรปฏิบัติในวันอีด ตามที่มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อาทิเช่น

ประการแรก ในวันอีดมุสลิมควรต้องเอาใจใส่เรื่องการอาบน้ำชำระร่างกายและใส่เครื่องหอม ซึ่งนักวิชาการบางกลุ่มมีทัศนะสนับสนุนให้ทำสิ่งดังกล่าวนั้น เช่นที่มีรายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านจะอาบน้ำก่อนที่จะออกไปละหมาดอีด (มุวัฏเฏาะอ์มาลิก 1/189) นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าส่งเสริมให้ขจัดขนรักแร้ ตัดเล็บ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความสะอาดของร่างกาย เพราะนี่ถือว่าเป็นการประดับกายที่สมบูรณ์ อีกทั้งยังสนับสนุนให้สวมใส่เสื้อผ้าที่ดีสุดเท่าที่สามารถจะหามาใส่ได้
มีรายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านมักจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดในวันอีด (สุนัน อัล-บัยฮะกียฺ 3/281)
อิบนุล ก็อยยิม ได้กล่าวว่า ในวันอีด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะสวมเสื้อผ้าที่งามที่สุดของท่าน ท่านจะมีชุดเฉพาะที่ใช้สวมใส่ในวันอีดและวันศุกร์ (ดู ซาด อัล-มะอาด 1/441)

ประการที่สอง ถ้าเป็นอีดุลฟิฏรฺ(วันอีดออกบวชเราะมะฎอน) มีสุนนะฮฺให้ทานอินทผลัมก่อนออกไปละหมาดเล็กน้อยด้วยจำนวนคี่ คือ สามผล หรือห้าผล หรือเจ็ดผล
ท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไม่ออกไปละหมาดอีดุลฟิฏรฺ จนกว่าจะได้ทานอินผลัมก่อนเล็กน้อย โดยท่านจะทานเป็นจำนวนคี่ (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หมายเลข 953)

ประการที่สาม ส่งเสริมให้ออกไปละหมาดด้วยเส้นทางหนึ่ง และขากลับให้ใช้อีกเส้นทางหนึ่ง เพราะมีรายงานจากญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อถึงวันอีดท่านจะใช้เส้นทางสลับกัน ระหว่างขาไปกับขากลับ (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หมายเลข 986)
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า ﴿لَّقَدۡ كَانَ لَكُمۡ فِي رَسُولِ ٱللَّهِ أُسۡوَةٌ حَسَنَةٞ لِّمَن كَانَ يَرۡجُواْ ٱللَّهَ وَٱلۡيَوۡمَ ٱلۡأٓخِرَ وَذَكَرَ ٱللَّهَ كَثِيرٗا ٢١﴾ [الأحزاب: ٢١]
ความว่า “ขอสาบาน ว่าแท้จริงแล้วสำหรับพวกเจ้า ในตัวศาสนทูตของอัลลอฮฺนั้น มีแบบอย่างที่ดีงามแก่คนที่หวังในอัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ และได้รำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมาย” (อัล-อะห์ซาบ 21)

ประการที่สี่ ตามสุนนะฮฺนั้นให้ละหมาดอีดที่มุศ็อลลา(สนามละหมาด) ไม่ใช่ที่มัสญิด นี่เป็นสิ่งที่รู้กันจากการปฏิบัติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ได้ทำเช่นนี้เสมอมา ตามที่นักวิชาการจำนวนหนึ่งได้วินิจฉัยให้น้ำหนักเกี่ยวกับความเห็นในประเด็นดังกล่าวนี้

ประการที่ห้า ไม่มีรายงานที่ยืนยันได้จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าท่านละหมาดสุนัตก่อนหรือหลังละหมาดอีดที่มุศ็อลลา ซึ่งท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ออกไปละหมาด
อีดุลฟิฏรฺ ท่านละหมาดสองร็อกอะฮฺ โดยไม่ได้ละหมาดสุนัตก่อนและหลังละหมาดอีดแต่อย่างใด (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หมายเลข 989)
แต่ถ้าหากว่าทำการละหมาดอีดในมัสญิด ก็ควรต้องละหมาดตะหิยะตุลมัสญิด(ละหมาดเมื่อเข้ามัสญิดก่อนที่จะนั่งลงหรือทำภารกิจอื่น)จำนวนสองร็อกอะฮฺเสียก่อน มีรายงานจาก อบู เกาะตาดะฮฺ อัส-สุละมียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า «ِإِذَا دَخَلَ أَحَدُكُمُ المَسْجِدَ، فَلَا يَجْلِسْ حَتَّى يَرْكَعَ رَكْعَتَيْنِ» [البخاري برقم 444، ومسلم برقم 714]
ความว่า “เมื่อใครคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านเข้ามัสญิด เขาก็จงอย่านั่งจนกว่าจะได้ละหมาดสองร็อกอะฮฺเสียก่อน” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 444 , มุสลิม หมายเลข 714)

ประการที่หก เมื่อกลับจากละหมาดอีดไปถึงบ้านแล้ว มีบทบัญญัติให้ละหมาดสองร็อกอะฮฺที่บ้าน เป็นหะดีษที่รายงานโดย อบู สะอีด อัล-คุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะไม่ละหมาดใดๆ ก่อนละหมาดอีด แต่เมื่อท่านกลับถึงบ้านแล้ว ท่านก็จะละหมาดสองร็อกอะฮฺ (บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 1293, อัล-หากิม กล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ ในขณะที่อิบนุ หะญัรฺ กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสัน ดู ฟัตหุลบารี 2/476)

ประการที่เจ็ด ส่งเสริมให้มีการกล่าวตักบีรฺ เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดินของคืนที่รุ่งเช้านั้นเป็นวันอีด นักวิชาการบางท่านเห็นว่าการตักบีรฺนั้นเป็นสิ่งวาญิบต้องทำเลยทีเดียว เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿شَهۡرُ رَمَضَانَ ٱلَّذِيٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلۡقُرۡءَانُ هُدٗى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَٰتٖ مِّنَ ٱلۡهُدَىٰ وَٱلۡفُرۡقَانِۚ فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ ٱلشَّهۡرَ فَلۡيَصُمۡهُۖ وَمَن كَانَ مَرِيضًا أَوۡ عَلَىٰ سَفَرٖ فَعِدَّةٞ مِّنۡ أَيَّامٍ أُخَرَۗ يُرِيدُ ٱللَّهُ بِكُمُ ٱلۡيُسۡرَ وَلَا يُرِيدُ بِكُمُ ٱلۡعُسۡرَ وَلِتُكۡمِلُواْ ٱلۡعِدَّةَ وَلِتُكَبِّرُواْ ٱللَّهَ عَلَىٰ مَا هَدَىٰكُمۡ وَلَعَلَّكُمۡ تَشۡكُرُونَ ١٨٥﴾ [البقرة: ١٨٥]
ความว่า “เดือนเราะมะฎอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการเดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า และเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วนซึ่งจำนวนวัน (ของเดือนเราะมะฎอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ตักบีรฺ(กล่าวถ้อยคำแสดงความเกรียงไกร)แด่อัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ ทรงแนะนำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 185)

ในเช้าวันอีดให้กล่าวตักบีรฺตั้งแต่เริ่มออกจากบ้านไปมุศ็อลลา(สนามละหมาด) จนกระทั่งอิมามนำละหมาดได้เข้ามาถึงยังที่ละหมาด อุละมาอ์ทั้งสี่มัซฮับต่างเห็นพ้องกันว่า การกล่าวตักบีรฺที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติให้ปฏิบัติโดยไม่มีผู้ใดเห็นแย้งในประเด็นนี้
มีรายงานจากอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่านได้ออกจากมัสญิดเพื่อเดินไปยังมุศ็อลลา ท่านจะไม่หยุดกล่าวตักบีรฺไปตลอดทาง จนกระทั่งอิมามผู้นำละหมาดได้เข้ามาถึงยังสถานที่ละหมาดนั้น (ดู สุนัน อัด-ดาเราะกุฏนียฺ 2/44 หมายเลข 4)
และมีรายงานเล่าว่า ท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จะกล่าวตักบีรฺด้วยถ้อยคำว่า “อัลลอฮุอักบัรฺ, อัลลอฮุอักบัรฺ, ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ, วัลลอฮุ อักบัรฺ, อัลลอฮุอักบัรฺ, วะลิลลาฮิลหัมดฺ” ซึ่งการตักบีรฺนี้ส่งเสริมให้กล่าวทั้งในมัสญิด ในบ้าน และบนถนนหนทาง (ดู มุศ็อนนัฟ อิบนิ อบี ชัยบะฮฺ 2/167)

ประการที่แปด การละหมาดอีดนั้นเป็นภารกิจที่ส่งเสริมอย่างยิ่ง(สุนนะฮฺ มุอักกะดะฮฺ)ให้ปฏิบัติทั้งชายและหญิง และมีอุละมาอ์บางท่านกล่าวว่ามันเป็นวาญิบ พวกเขาได้อ้างหลักฐานที่เป็นหะดีษจากอุมมุ อะฏียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สั่งให้บรรดาหญิงสาวที่บรรลุวัยตามศาสนบัญญัติและหญิงที่มีประจำเดือนให้ออกไปที่สนามละหมาดอีดด้วย โดยให้บรรดาหญิงที่มีประจำเดือนอยู่ห่างๆ จากที่ละหมาด ให้พวกนางได้มีส่วนร่วมรับความดีงามและดุอาอ์ต่างๆ ของมวลมุสลิมในวันดังกล่าว (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หมายเลข 980)

ประการที่เก้า การอวยพรในวันอีด ซึ่งได้มีรายงานที่เล่ามาจากเศาะหาบะฮฺบางท่านว่า พวกเขาได้กล่าวอวยพรแก่กันในวันอีดว่า “ตะก็อบบะลัลลอฮุ มินนา วะมินกุม” หมายถึง ขออัลลอฮฺทรงตอบรับการงานต่างๆ จากพวกเราและพวกท่านด้วยเถิ

โดย ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
ขอบคุณข้อมูลจาก www.islammore.com

ฉันรักท่านเพื่ออัลลอฮฺ




มีชายคนหนึ่งอยู่กับท่านนบีศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วมีชายอีกคนเดินผ่านไป ชายคนที่อยู่กับท่านนบีได้บอกว่ากับท่านว่า: "แท้จริงฉันรักชายคนเมื่อกี้" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงถามเขาว่า: "ท่านบอกให้เขารู้หรือยัง ?" ชายคนนั้นตอบว่า: "ยัง" ท่านนบีกล่าวว่า: "ท่านก็จงบอกให้เขารู้ซิ" แล้วเขาก็เดินตามชายคนเมื่อกี้ แล้วบอกกับเขาว่า "แท้จริงฉันรักท่านเพื่ออัลลอฮฺ" ชายคนนั้นตอบว่า: "ขอให้อัลลอฮ ฺผู้ที่ทำให้ท่านรักฉันเพื่อพระองค์ ทรงรักท่านด้วยเถิด.

[บันทึกโดยอบูดาวูด(5172), อะหฺมัด(12590), อิบนุลญะอฺดฺ(3193), อบูยะอฺลา(3442), อิบนุสสุนนีย์(197) ด้วยสายรายงานหะดีษที่ดี

ใครทำให้ท่านนบีร้องไห้ ?




ใครทำให้ท่านนบีร้องไห้ ?
.
.
.

ทำไมต้องร้องไห้ ? ร้องไห้แล้วได้อะไร ?

อัลลอฮทรงสั่งใช้ให้ผู้ศรัธทาร้องไห้ โดยอัลลอฮทรงสั่งว่า
พวกเจ้ายังคงแปลกใจต่อคำกล่าวนี้อีกหรือ? และพวกเจ้ายังคงหัวเราะ และยังไม่ร้องไห้
อัน-นัจมฺ อายะฮที่ 58-60
ท่านอะนัส รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวเทศนาธรรมที่ฉันไม่เคยได้ยินเช่นนี้มาก่อน ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “แม้นว่าพวกท่านทราบถึงสิ่งที่ฉันรู้ แน่อนพวกท่านต้องหัวเราะห์น้อยลง และร้องไห้มากขึ้น” และบรรดาสาวกของท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ต่างพากันปิดหน้าและส่งเสียงร้องไห้กันระงม บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม

ผู้ที่ร้องไห้ด้วยความยำเกรงต่ออัลลอฮ จะไม่โดนไฟนรก มีรายงานจากท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ว่า
ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งที่ร้องไห้เนื่องจากความยำเกรงต่ออัลลอฮ เขาจะไม่ต้องเข้าไฟนรก จนกว่าว่าน้ำนมจะไหลกลับเข้าเต้านมได้ และคราบฝุ่นในหนทางของอัลลอฮ ก็จะไม่มีวันอยู่ร่วมกับควันของนรกญะฮันนัมเป็นอันขาด” บันทึกโดยอัดติรมีซีย์
และยังมีรายงานอีกว่า ท่านอับดุลลอฮอิบนุอับบาส กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “สองดวงตานี้จะไม่สัมผัส 1.ดวงตาที่ร้องไห้เนื่องด้วยยำเกรงต่ออัลลอฮ และ 2.ดวงตาที่อดหลับอดนอนเฝ้าระวังในหนทางของอัลลอฮ” บันทึกโดยอัดติรมีซีย์

ผู้กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ แล้วร้องไห้ เขาจะได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของพระองค์ในวันกิยามะฮ
ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “เจ็ดอภิสิทธิชนที่อัลลอฮจะทรงให้พวกเขาได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอัลลอฮ วันที่ไม่มีร่มเงาใดๆนอกจากร่มเงาของพระองค์เท่านั้น คือ ผู้นำที่เที่ยงธรรม........และชายคนหนึ่งที่เขากล่าวรำลึกถึงอัลลอฮเพียงลำพัง แล้วดวงตาทั้งสองของเขาก็มีน้ำตาเอ่อล้น.........หะดีษ” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม

ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ท่านนบีร้องไห้
.
.
.
อ่านสิ...นบีอยากฟัง
ท่านอับดุลลอฮอิบนุมัสอู้ด รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. กล่าวว่า “จงอ่านกุรอานให้ฉันฟังหน่อยสิ” อิบนุมัสอู้ด ถามว่า “จะให้ฉันอ่านให้ท่านฟังทั้งๆที่อัลกุรอานนั้นถูกประทานให้แก่ท้านกระนั้นหรือ?” ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ตอบว่า “ใช่แล้ว” ฉันจึงอ่านซูเราะห์อันนิซาอฺ จนถึงอายะฮที่ว่า (แล้วจะเป็นอย่างไรเล่า เมื่อเราได้นำพยานมาหนึ่งคนจากแต่ละประชาชาติ และเราได้นำท่านมาเป็นพยานต่อพวกเขาอีกที....) ทันใดนั้นท่านร่อซูลฯก็กล่าวว่า “ท่านจงหยุดอ่านเดี๋ยวนี้” อิบนุมัสอู้ดเล่าต่อไปว่า “แล้วฉันก็หันไปเห็นดวงตาทั้งสองของท่านร่อซูลฯเอ่อล้นไปด้วยน้ำตา” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม

จบกัน...เมื่อวันเยี่ยมแม่
ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ รฎ. กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ไปเยือนหลุมศพมารดาของท่าน แล้วท่านก็ร้องไห้สะอึกสะอึ้น และยังทำให้ผู้ที่อยู่รอบๆตัวท่านร้องไห้ตามไปด้วย แล้วท่านก็กล่าวกับทุกคนว่า “ฉันได้ขออนุญาตจากพระเจ้าของฉันที่จะวิงวอนขออภัยโทษให้แก่มรรดาของฉัน แต่พระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้นฉันจึงขออนุญาตจากพระองค์อีก ให้ฉันได้มาเยี่ยมเยือนหลุมศพมารดาของฉัน และพระองค์ก็อนุญาตให้แก่ฉัน ดังนั้นพวกท่านจงเยี่ยมเยือนหลุมฝังศพเถิด เพราะมันจะช่วยเตือนใจให้พวกท่านได้ระลึกและสังวรถึงความตายได้” บันทึกโดยมุสลิม

ลุงใครๆก็รัก
ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ รฎ. กล่าวว่า ในวันสมรภูมิอุหุด ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. มองดูศพของฮัมซะฮบินอับดิลมุฏฏอลิบ(ลุง) ที่ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพดี ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ไม่เคยเห็นภาพใดที่ทำให้เจ็บใจและเสียใจมากเท่านี้มาก่อน ท่านจึงพูดว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮ ฉันจะต้องทำเยี่ยงนี้กับพวกมันสัก 70 คน เพื่อชดเชย-ชำระแค้น-ให้กับท่าน” อัลลอฮ จึงมีรับสั่งมาทันทีว่า (และหากพวกเจ้าจะลงโทษ ก็จงลงโทษเยี่ยงเดียวกับที่พวกเจ้าถูกลงโทษ และหากพวกเจ้าอดทน แน่นอนมันย่อมเป็นการดีสำหรับบรรดาผู้อดทน) ท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. จึงไถ่โทษและยุติสิ่งที่ท่านตั้งใจจะทำ บันทึกโดยอัดฏ็อบรอนีย์
ท่านอับดุลลอฮอิบนุมัสอู้ด รฎ. กล่าวว่า “พวกเราไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลลอฮ ซ.ล. ร้องห่มร้องไห้ครั้งใดเลย ที่จะมากมายกว่าที่ท่านร้องไห้ เนื่องจากการเสียชีวิตของฮัมซะฮฺบินอับดิลมุฏฏอลิบ”

นานแค่ไหนแล้ว...ที่พี่น้องไม่ได้ร้องไห้กับความยำเกรงต่ออัลลอฮ กับคำพูดของอัลลอฮ (อัลกุรอาน) หรือเพียงแค่อ่านแต่ไม่ได้ใคร่ควรต่อความหมายที่อัลลอฮได้บอกไว้ หรือได้แต่เสียน้ำตาให้กับเรื่องไร้สาระในดุลยาซึ่งไม่มีค่าในสายตาของอัลลอฮเลย......